สมัครเรียน
ประวัติวิทยาลัยฯ
วิสัยทัศน์
ปรัชญาวิทยาลัย
ระดับ ปวช.
ระดับ ปวส.
ประวัติวิทยาลัยฯ
คุณเชาว์ พงษ์สุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2428 ณ หมู่บ้านซักเหมินเนีย ตำซำ โหบ้า อำเภอไทปู มณฑลกวางตุ้ง เป็นบุตรชายคนเดียวของนายยุ้นเซียน แช่ถุง ได้เข้ามาอยู่ใน ประเทศไทยเมื่ออายุได้ 14 ปี แรกเริ่มอาศัยอยู่จังหวัดพระนครต่อมาไดโยกย้ายไปอยู่อีกหลายจังหวัดในที่สุดตั้งรกรากเปิดร้านตัดเย็บเสื้อผ้าขึ้นที่ ตำบลวัดเกตุ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ได้ทำการสมรสกับ นางจันทร์แก้ว จันทร์เกษม เมื่ออายุครบ 20 ปี เกิดบุตรตรีคนหนึ่งชื่อ กิมยุก เมื่ออายุได้ 30 ปี จึงได้โยกย้ายมาอยู่จังหวัดเชียงราย สมัยพระรามราชภักดีเป็นข้าหลวงประจำ และท่านข้าหลวงฯ ผู้นี้ได้ตั้งชื่อสกุล “พงษ์สุวรรณ” ให้แต่นั้นมาได้ภรรยา อีกคนหนึ่งชื่อนางจันทร์สุข มีบุตรด้วยกันคือ นางบัวเขียว นางกิมเหรียญ (ยอดสุวรรณ) และนายจินเสียง
เมื่อปี พ.ศ 2472 บรรดาพ่อค้าคหบดีชาวจีน-ไทย ในอำเภอเมืองเชียงราย อันมี คุณสี ไตรไพบูลย์ คุณฟุ่น อุดมทรัพย์ คุณมายิ่งซัง ศิลาพงษ์ คุณกวาง แซ่เตีย และคุณเชาว์ พงษ์สุวรรณ เป็นหัวหน้าประชุมปรึกษา และยื่นคำร้องขอตั้งโรงเรียนจีน “ลี้เม้งฮกเก่า” ขึ้นที่หมู่ 16 ตำบลรอบเวียง อำเภอเมืองเชียงราย โดยคุณเชาว์ พงษ์สุวรรณ อุทิศที่ดินด้านหน้าซึ่งมี่เนื้อที่ประมาณ 2 ไร่เศษ ให้แก่โรงเรียนในขณะที่การก่อสร้างกำลังดำเนินงานอยู่นั้น คุณเชาว์ พงษ์สุวรรณ มีความจำเป็นต้องกลับไปเยี่ยมครอบครัว ณ ประเทศจีนขากลับได้ภรรยาคนจีนมาด้วยคือนางสอด พงษ์สุวรรณ ภรรยาคนปัจจุบันมีบุตรด้วยกันคือนายเซ้าเสียงนางกิมหลอย(พรพรรณ) และเด็กหญิงกิมยิว พงษ์สุวรรณ และภรรยา 2 คนก่อนได้ถึงแก่กรรมแล้ว) เมื่อกลับมาถึงเชียงราย โรงเรียนที่ก่อสร้างไว้ก็ยังไม่เสร็จเพราะขาดการเงิน คุณเชาว์ พงษ์สุวรรณ ต้องเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญคนหนึ่ง ที่วิ่งเต้นไปยังอำเภอ และจังหวัดใกล้เคียงบอกบุญเรี่ยไร เพื่อให้ได้เงินมาพอกับความต้องการ การก่อสร้างโรงเรียนต้องใช้เวลานานถึง 2 ปี จึงเสร็จเรียบร้อย ตลอดเวลาที่โรงเรียนดำเนินการสอนภาษจีน ตั้งแต่ พ.ศ2474 จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 คุณเชาว์ พงษ์สุวรรณก็ยื่นคำขอร้องขออนุญาตเปิดโรงเรียนขึ้นอีกให้ชื่อว่า โรงเรียนกุงหมิง” โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ พ.ศ 2489 - พ.ศ 2495 และในปี พ.ศ 2496 ได้เปลี่ยนการสอนเป็นโรงเรียนไทยโดยสมบูรชื่อ”โรงเรียนศึกษาศาสตร์ ถึงแม้ในภายหลังจะเปิดเป็นโรงเรียนสอนภาษาไทยแล้ว ท่านก็ยังมีความสนใจ และส่งเสริมการศึกษาของโรงเรียนนี้ด้วยดีเสมอมา และก่อนถึงแก่กรรม ท่านได้บริจาคที่ดินผืนนี้ให้แก่มูลนิธิสารณกุศลเชียงราย เพื่อวางรากฐานทางการศึกษาให้บุตรหลานในจังหวัดเชียงรายตลอดไป ซึ่งที่ผื่นนี้....ก็คือ "ที่ตั้งวิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการเชียงรายในปัจจุบัน"